หากจะพูดถึงเทคโนโลยีด้านการพิมพ์แล้ว เชื่อว่าเทคโนโลยีด้านการพิมพ์สามมิติเป็นสิ่งที่ต้องใช้คำว่า ก้าวกระโดด เลยก็ว่าได้ การพิมพ์ 3 มิติทำให้ศาสตร์ต่างสามารถพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น เพราะการพิมพ์แบบนี้จะทำให้การจำลอง หรือ สร้างเครื่องมืออะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่งนั้นง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ ยังไม่พอทางการแพทย์ยังนำเรื่องนี้พัฒนาต่อยอดจนทำให้เกิดการสร้างอวัยวะเทียมแบบพิมพ์ 3 มิติ
การพิมพ์ด้วยวัสดุอื่น
การทำงานพิมพ์ เราอาจจะนึกภาพเรื่องของกระดาษเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระดาษเอสี่ที่เราใช้กันทุกวันเป็นประจำ หรือ กระดาษรูปแบบอื่นที่มีความพิเศษ แต่เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทำให้งานของเราพัฒนาไปมากกว่านั้น ตัวเครื่องได้มีการพัฒนาตัวเองให้สามารถพิมพ์ด้วยวัสดุอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น พลาสสิก โลหะ
การทำอวัยวะเทียม
หากย้อนไปสัก 5 ปีที่แล้ว การทำอวัยวะเทียมถือว่าเป็นเรื่องยากมาก หากไม่ได้จ้างทำเองอาจจะต้องใช้เวลารอนานมากต่อการทำหนึ่งครั้งไหนจะคิวยาวเหยียดรออยู่อีก การทำอวัยวะเทียมอาจจะใช้การหล่อผ่านแบบมาตรฐานแม้ว่าข้อดีจะเป็นอวัยวะเทียมที่ได้จะมีความเหมือนกัน ใกล้เคียงกันมาก แต่สรีระของคนเรามักไม่เท่ากันการใช้อวัยวะเทียมที่เท่ากันก็อาจจะทำให้ผู้ได้รับรู้สึกไม่พอดีกับอวัยวะใหม่ของตัวเอง
แต่หากเราใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติการทำอวัยวะเทียมก็ไม่ต้องใช้เวลามากขนาดนั้น เราสามารถวัดขนาดอวัยวะส่วนที่ต้องการได้เลย จากนั้นก็เอาข้อมูลเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แล้วก็สั่งให้เครื่องทำงาน รอไม่นานก็สามารถรับอวัยวะเทียมไปใช้ได้เลย แถมการทำจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติจะทำให้รองรับสรีระของผู้ได้รับอวัยวะเทียมได้มากกว่า แม้จะทดแทนอวัยวะจริงไม่ได้ แต่ก็จะกระชับมากกว่าเดิม
การสร้างเซลล์
เครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้น ตอนนี้กำลังพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในทางการแพทย์อย่างมากพวกเค้าต้องการสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติชีวภาพ หัวข้อหนึ่งที่สำคัญเลยก็คือ การนำเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมาเป็นวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าเครื่องจะได้สร้างอวัยวะเทียมแบบมีสิ่งมีชีวิตได้ ตรงนี้สำคัญมาก เพราะมันจะทำให้อวัยวะเทียมมีความใกล้เคียงอวัยวะจริงขึ้นไปอีก ลองนึกภาพแขนเทียมที่มีผิวหนังเหมือนกับสีผิวของคนคนนั้นดูสิ จะทำให้เค้ารู้สึกมั่นใจมากกว่าเดิม หากทำได้จริงไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นอวัยวะเทียมแบบอวัยวะภายในอย่าง ตับ ปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร ก็เป็นได้
เทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีผลแต่กับมนุษย์เท่านั้น กับสัตว์เองก็ได้มีการสร้างอวัยวะเทียมขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเช่นกัน ต้องมาดูกันว่า เครื่องพิมพ์ 3 มิติทางการแพทย์ จะก้าวหน้าไปได้แค่ไหนในอีก 5-10 ปีข้างหน้านี้